2.19.2553

คดีลักพาตัวหนูน้อย ลินด์เบริก (1976) The Lindbergh Kidnapping Case

คดีลักพาตัวหนูน้อย ลินด์เบริก (1976) The Lindbergh Kidnapping Case



หนูหน้อยวัยกำลังหัดเดิน ชาร์ล ออกุสตุส จูเนียร์ (Charles Augustus Lindbergh, Jr.)บุตรชายคนเดียวของนาย ชาร์ล ลินเบิร์ก Charles Lindbergh ผู้มีอาชีพนักบิน และนาง แอน มอร์โรว ลินเบิร์ก Anne Morrow Lindbergh ถูกลักพาตัวไปจากบ้านของพวกเขา ใน East Amwell, New Jersey ใกล้ เมือง Hopewell, New Jersey ในช่วงเย็นของวันที่ 1 มีนาคม 1932 จากนั้น 2 เดือนให้หลัง วันที่ 12 พฤษภาคม 1932 มีคนพบศพของพ่อหนูน้อยไม่ไกลนักจากบ้านของพวกเขาเอง


การทดสอบทางการแพทย์ระบุว่ากระโหลกศีรษะของเด็กน้อยถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงจนแตก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต


หลังจากการสืบสวนกว่า 2 ปี Bruno Richard Hauptmann ถูกจับกุมในข้อหาฆารกรรม ในช่วงของการสอบสวนนับตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 13 กุมภาพันธ์ 1935 เขาพบกับคำตัดสินสูงสุดของศาลนั่นคือการถูกประหารโดยการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ณ เรือนจำ New Jersey State วันที่ 3 เมษายน 1936 เวลา 20:44 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทว่า Hauptmann ได้ประกาศตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต


นักหนังสือพิมพ์นาม H.L. Mencken เรียกขานเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุน่าเศร้านี้ว่า "เรื่องใหญ่ที่สุดนับแต่การฟื้นคืนชีพ" ("the biggest story since the Resurrection.") เพราะคดีนี้เป็นคดีที่มีผลให้ทางสภาคอนเกรสได้ผ่านพระราชบัญญัติทั่วไปฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็กข้ามสหพันธรัฐ ที่เรียกว่า "กฏหมายลินเบิร์ก"

อาชญากรรม

ย้อนเหตุการณ์กลับไปยังวันเกิดเหตุ ขณะนั้นเป็นเวลาราว 2 ทุ่ม ของวัน ที่ 1 มีนาคม ปี 1932 พยาบาลพี่เลี้ยงชื่อ Betty Gow ได้อุ้มเด็กทารกชายอายุเพียง 20 เดือนวางไว้ในเปลที่มีคอกกันตก และจัดการยึดผ้าห่มไว้ด้วยหมุดเพื่อกันไม่ให้เด็กนอนดิ้นจนผ้าห่มหลุด สามทุ่ม 20 นาที Charles Lindbergh ผู้เป็นพ่อได้ยินเสียงที่ทำให้เขาคิดว่าเหมือนมีไม้บานเกล็ดเลื่อนตกลงไปบนกล่องส้มในครัว

4 ทุ่ม พี่เลี้ยงถึงได้พบว่าหนูน้อยหายตัวไปเสียแล้ว เธอรีบไปสอบถามนางลินเบิร์กแม่ของเด็กซึ่งเพิ่งอาบน้ำเสร็จว่าเด็กอยู่กับแม่หรือไม่ หลังจากพบว่าหนูน้อยไม่ได้อยู่กับแม่ พยายบาลพี่เลี้ยงได้ลงไปชั้นล่างไปสอบถามนาย Lindbergh ผู้เป็นพ่อ ซึ่งอยู่ในห้องสมุดซึ่งอยู่ในตำแหน่งใต้ห้องเลี้ยงเด็ก และอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้าน Charles Lindbergh รีบขึ้นไปดูบนห้องเด็กเพื่อให้แน่ใจ ขณะกำลังสำรวจเขาพบซองจดหมายสีขาวซองหนึ่งบนหม้อต้มน้ำใต้หน้าต่าง Lindbergh รีบไปหยิบปืนไรเฟิล และออกสำรวจส่วนต่างๆ ของบ้านเพื่อตามหาผู้บุกรุก

ภายใน 30 นาที ตำรวจและทนายความกำลังอยู่ระหว่างทางมุ่งหน้ามายังบ้านเกดิเหตุ เขาก็พบเพียงรอยเท้าเปื้อนโคลนเพียงรอยเดียวเท่านั้นจากสภาพอากาศที่มีฝนตกและลมกรรโชกแรงในช่วงเ็็ย็นวันนั้น (ทำให้รอยเท้าอื่นๆ หายไป) เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงก็ออกค้นหาร่องรอยทันที พบว่าพุ่มไม้ถูกตัดออกเป็น 3 ส่วนอย่างชาญฉลาด และดูเหมือนจะถูกทำเป็นบันได

การสอบสวน

เป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ Harry Wolfe หัวหน้าหน่วยตำรวจองโฮปเวล Hopewell เข้าร่วมการสอบสวนทันทีร่วกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐนิวเจอร์ซี่ย์ ตำรวจตรวจสอบภายในตัวบ้านและบริเวณโดยรอบออกไปหลายไมล์ หลังเที่ยงคืน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบลายมือเข้ามาตรวจสอบบริเวณขอบประตูหน้าต่างและบันได ที่บันได้มีลายมือ 400 ลายนิ้วมือซึ่งล้วนเป็นลายที่ไม่สมบูรณ์ และพบรอยเท้าสองสามรอย ซึ่งทั้งหมดล้วนไร้คา่ต่อการสอบสวนเนื่องจากการหลั่งไหลของบรรดาสื่อมวลชนที่เข้ามาทำข่าวในบ้านและตำรวจในช่วง 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงให้หลัง หลังจากที่คนในบ้านโทรไปที่สถานีตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่สิ่งผิดปกติและขัดแย้งต่อการสอบสวนคือลายมือมากมายพี่พบนอกเหนือจากของเด็ก พ่อแม่เด็ก พี่เลี้ยงเด็ก นั้นแทบเอาไปพิสูจน์ไม่ได้เลย โน้ตจากคนร้ายที่พ่อเด็กพบก็ถูกตำรวจเปิดอ่านหลังจากมาถึงบ้านนั้นเป็นการเขียนด้วยปากกา มีรอยเจาะบนกระดาษ และสะกดผิดไวยากรณ์ด้วย

และนี่คือข้อความในจดหมายฉบับนั้น

Dear Sir!

Have 50000$ redy 25000$ in
20$ bills 15000$ in 10$ bills and
10000$ in 5$ bills After 2-4 days
we will inform you were to deliver
the Mony.
We warn you for making
anyding public or for notify the Police
The child is in gut care.
Indication for all letters are
singnature
and three holes.

และหากสะกดอย่างถูกต้องแล้ว ต้องเขียนแบบนี้

Dear Sir:

Have $50,000 ready - $25,000 in
$20 bills, $15,000 in $10 bills and
$10,000 in $5 bills. After 2-4 days,
we will inform you of where to deliver
the money.

We warn you about making
anything public or notifying the police.
The child is in good care.
Indication for all letters are a
signature
and three holes.

ในจดหมายนอกจากจะมีรอยเจาะ 3 รอยแล้ว มีวงกลม 2 วงคล้องกันอยู่ตามภาพด้านล่าง สีแดงกับสีน้ำเงิน และทั้งสองวงคล้องรอยเจาะสีแดงไว้

File:Lindberg ransom note mark.JPG

ข่าวการลักพาตัวเด็กน้อยแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วและด้วยความมั่งคั่งของครอบครัวนี้และรวมถึงความสนใจของประชาชนทำให้การสืบสวดของตำรวจรุดหน้าไปมาก ในขณะที่ทหารระดับสูง 3 นายเสนอความช่วยเหลือมาอีกแม้ว่าจะมีเพียงคนเดียวที่รู้เรื่องกฏหมายก็ตาม


Herbert Norman Schwarzkopf ผู้บัญชาการตำรวจนิวเจอร์ซีและเป็นบิดาผู้พัน H. Norman Schwarzkopf ว่าที่ผู้บังคับบัญชาหน่วยกองกำลังป้องกันและจู่โจมในทะเลทราย พันเอกอีกคนคือ Henry Skillman Breckinridge และทนายความจาก Wall Street; William Joseph Donovan (ฉายา "Wild Bill" Donovan จากการเป็นวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ซึ่งภายหลังเป็นหัวหน้าหน่วย OSS

Lindbergh และคนเหล่านี้เชื่อว่า การลักพาตัวครังนี้เกิดจากองค์กรอาชญากรรมสำคัญ พวกเขาคิดว่าคนเขียนจดหมาย เป็นคนที่พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ ควรจะเรียกได้ว่าในเวลานี้ Charles Lindbergh ได้ใช้อิทธิพลของเขากำหนดทิศทางการสอบสวน


พวก เขา ติดต่อ Mickey Rosner ผู้โ่งดังจากเวทีบรอดเวย์และรู้จักกับพวกก่อม็อบ Rosner แนะนำ 2 เจ้าของร้านเหล้าเถื่อน คือ Salvatore "Salvy" Spitale และ Irving Bitz ซึ่ว Lindbergh ตอบรับพวกเขาอย่างทันควันและแต่งตั้งให้เป็นสื่อกลางระหว่างตัวเขากับพวกม็อบ ภายใต้เงาของ Lindbergh พวก Bitz และ Spitale ได้สมคบคิดกับหนังสือพิมพ์ New York Daily News ที่หวังใช้ประโยชน์จากคนคู่นี้เพื่อสงครามข่าวเรื่องการลักพาตัว

มีการขัดตั้งกลุ่มองค์กรอาชญากรรมหลากหลายขึ้นมา แต่ที่น่าจดจำคือ Al Capone กลุ่มคนคุกยื่นข้อเสนอว่าจะพาตัวเด็กมาคืนให้แลกเปลี่ยนกับเงินจำนวนหนึ่งหรือผลประโยชน์ทางกฏหมาย ในทางทฏฎิีแล้ว Al Capone ได้เสนอความช่วยเหลือนี้แลกกับการได้ออกจากคุกซึ่งพวกเขาอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ข้อเสนอนี้ถูกเจ้าหน้าที่ฏิเสธไปอย่างรวดเร็ว

เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากการลักพาตัว ประธานาธิบดี Herbert Hoover แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับอาชญากรรม Hoover ประกาศว่าเขาจะ "พลิกฟ้าพลิกแผ่น" เพื่อเอาตัวเด็กกลับมา สำนักงานสืบสวน(ตอนนั้นยังไม่เรียกว่าFBI) ได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบคดีนี้ ขณะที่ยามรักษาการ์ชายฝั่งของอเมริกา หน่วยบริการประชาชน ด่านตรวจคนเข้าเมือง และตำรวจวอชิงตันดีซีก็พร้อมหากถูกร้องขอมา เจ้าหน้าที่ New Jersey ประกาศมอบรางวัล $ 25,000 ให้คนที่พาตัวเด็กน้อยกลับมาอย่างปลอดภัย ครอบครัว Lindbergh เสนอเพิ่มเติมอีก $ 50,000 รวมเป็น 75,000 $ ข้อเสนอได้รับความสนใจอย่างมากทั้งๆ ที่ช่วงนั้นเป็นช่วงวันต้นที่มีพายุใหญ่เข้ามา

ไม่กี่วันหลังการลักพาตัว มีจดหมายเรียกค่าไถ่ฉบับใหม่ส่งมาที่บ้าน Lindbergh โดยมีตราไปรษณีย์จากบรู๊คลินบนซอง จดหมายเป็นของแท้แน่นอน เพราะมีการเจาะรูสีน้ำเงินและสีแดงเหมือนจดหมายฉบับแรก ตำรวจต้องการตรวจสอบจดหมาย แต่แทนที่ Lindbergh จะมอบให้ตำรวจ แต่กลับมอบให้ Rosner ผู้ซึ่งกล่าวว่าเขาจะส่งมอบมันให้กลุ่มม็อบ แต่ในความเป้นจริงเขาส่งกลับไปที่ Daily News คนบางคนถ่ายรูปจดหมายนั่นไว้ และสำเนาของมันมีคนนำไปขายที่หัวมุมถนนในนิวยอร์คใบละ 5 เหรียญ จดหมายฉบับต่อๆ มาหลังจากนั้นจึงถูกสงสัยว่าจะใช้ฉบับจริงหรือไม่ (เพราะคนทั่วไปรู้สัญลักษณ์นั่นแล้ว)

จดหมายอีกฉบับถูกส่งมาถึง ตราไปรษณีย์ยังเป็นที่บรู๊คลิน อาจารย์ Mulrooney กรรมาธิการของ สำนักงานตำรวจ New York City ให้คำแนะนำว่า จากตราไปรษณีย์ของบรู๊คลิน ไม่ได้แปลว่าเขาอยู่ที่นั่น Mulrooney บอก Lindbergh ว่า เจ้าหน้าที่ได้ตรวจตราตู้ไปรษณีย์ทุกแห่งในบรู๊คลินและติดตั้งอุปกรณ์แยกตัวอักษรที่จะช่วยค้นหาร่องรอยของคนร้าย หรือติดตามผู้ที่อาจจะเชื่อมโยงกับคนร้าย ถ้าหากว่าเด็กถูกจับไว้ที่บรู๊คลินจริง Mulrooney ยืนกรานว่าแผนดังกล่าวจะช่วยค้นหาเด็กได้เป็นอย่างดี Mulrooney มีความตั้งใจอันยอดเยี่ยมรวมถึงการจัดเตรียมชุดตำรวจเพื่อโจมตีในการช่วยชีวิตเด็ก

Lindbergh ไม่ยอมรับแผนของ Mulrooney เขากลัวลูกจะได้รับอันตรายและเตือน Mulrooney ถ้านำแผนนี้ออกมาใช้งาน เขาจะใช้อิทธิพลของเขาทุกวิถีทางในการทำลายอนาคตทางการงานของ Mulrooney

แม้จะขัดต่อความตั้งใจแต่ Mulrooney ก็ต้องยอมรับมัน

วันหนึ่งหลังจาก Lindbergh ปฏิเสธแผนของ Mulrooney จดหมายฉบับที่ 3 ก็ถูกส่งมาจาก Brooklyn จดหมายฉบับนี้เตือนว่าเนื่องจากตำรวจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นค่าไถ่ต้องเป็น $ 100,000

John Condon เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Jafsie"

ในช่วงเวลานี้ John F. Condon วัย 72 ปี อดีตครูปลดเกษียณใน Bronx ได้เขียนจดหมายไปที่ Home News ประกาศว่าเขาสมัครใจจะช่วย Lindbergh และกับเงินรางวัล $ 1000 Condon ได้รับจดหมายซึ่งอยู่ในความดูของ Home News ในฐานะที่เป็นคนกลางให้กับ Lindbergh ระบุว่าเขียนโดยคนร้ายเพราะมีเครื่องหมายเหมือนกับในจดหมายตัวจริง และส่งต่อให้Lindbergh โดยที่พวกเขาไม่ได้ตระหนักเลยว่า สำเนาของจดหมายตัวแรกได้ถูกส่งขายออกไปแล้ว และคนจำนวนมากต้องรู้เรื่องสัญลักษณฺ์ในจดหมายนั่นแล้ว


การปฏิบัติตามจดหมายฉบับล่าสุด Condon ประกาศลงโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ New York America ว่า "เตรียมเงินพร้อมแล้ว ลงชื่อ Jafsie"(Jafsie คือ นามแฝงที่ใช้ในการออกเสียงชื่อย่อ Condon คือ"JFC") แล้วรอคำตอบจากคนร้าย


(หมดแรงแล้ว พรุ่งนี้ค่อยมาแปลต่อนะคะ ^^)


แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Lindbergh_kidnapping

สุดยอด 5 คดีดัของเอฟบีไอ

สุดยอด 5 คดีของเอฟบีไอ


นับแต่อดีตมานั้นเอฟบีไอต้องเจออาชญากรระดับบิ๊กอยู่หลายคดี ระดับที่แทบระดมคนทั้งกรมเพื่อตามล่า สืบสวนกันเลยที่เดียว


แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้บางคนอาจเป็นฮีโร่หรือตัวช่วยสร้างสีสันให้กับความฝันของผู้คนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สำหรับรัฐแล้ว พวกนี้มักถูกหมายหัว เพราะทำให้รัฐ "เสียหน้า" คนเหล่านี้จึงต้องถูกขึ้นบัญชีของ FBI เพื่อทำการลบชื่ออกไปจากสังคม อย่างที่เราเคยเห็นตัวอย่างแนวคิดนี้ในหนังใรั่งหลายเรื่องก็ตาม


อัล คาโปน เจ้าพ่อที่เหนือเจ้าพ่อ



อัล คาโปน เขาเป็นนักธุรกิจ หัวหน้าแก๊ง และจอมวายร้าย ในช่วงทศวรรษที่ 20-30 เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในทำเนียบ "เจ้าพ่อมาเฟีย"ในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ที่ FBI มีแฟ้มประวัติอาชญากรรมของเขาหนานับพันหน้า แต่ไม่เคยเอาผิดเขาได้เลยสักครั้ง และความฉลาดเอาตัวรอดของเขา ต้องอัลคาโบนดันมาตายน้ำตื้นจากข้อหาที่เจ้าหน้าที่ที่ยัดความผิดข้อหาเดียวคือ "หลีกเลี่ยงภาษี" จนกระทั้งถูกส่งตัวไปยังคุกอัคาทราซแบบไม่เกิดเลย


แต่ถึงอย่างไร อัล คาโปน ยังมีนิสัยน่ารักอย่างหนึ่งคือเขาไม่เคยทำให้ผู้บริสุทธิ์เดือดร้อนเลยยกเว้นกับคู่อริที่เห็นเมื่อไหร่เป็นต้องยิงทิ้ง แต่เขาก็สั่งไม่ให้ฆ่าเด็ก ผู้หญิง คนแก่ และครอบครัวของคู่อริด้วย โอ้...ช่างน่ารักจริงๆ


จอห์น ดิลลิงเจอร์ สุภาพบุรษจอมโจร



อันนี้เป็นสื่อมวลชนตั้งฉายากันไปเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์การค้าครับ กับ จอห์น ดิลลิงเจอร์ หัวหน้าแก๊งโจรปล้นธนาคารที่โด่งดังที่สุดในเขตรัฐโอไฮโอ และอินเดียน่า ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เพราะตลอดเพียงปีเดียวของการก่ออาชญากรรม จอห์น ดิลลิงเจอร์ และแก๊งของเขาปล้นธนาคารถึง 22 ครั้ง ได้เงินไปราว 3 แสนกว่าดอลลาร์ นอกจากนั้นยังยิงเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนบริสุทธิ์เสียชีวิตอีก 15 คน บาดเจ็บอีก 17 คน เขาเคยถูกจับ 3 ครั้ง แต่หนีออกมาได้ทุกครั้ง จนทำให้ผู้อำนวยการ FBI ถึงกับต้องออกประกาศทางวิทยุด้วยตนเองประกาศจับว่า "มันคือขุนโจรร้ายแห่งยุคและเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของชาติ"


เกร็ดชีวิตจริงของวีรบุรุษจอมโจร จอห์น ดิลลินเจอร์

ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกอย่างนี้ และวันเวลาได้ผ่านเข้ามาถึงเดือนกรกฎาคม ทำให้นึกถึงคนคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นวีรบุรุษในห้วงเวลาวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 30 ชื่อของเขาคือ จอห์น ดิลลินเจอร์ บุรุษผู้ที่คนรักใคร่ และให้เกียรติ จนมีการยกวันที่เขาเสียชีวิต เป็นวันจอห์น ดิลลินเจอร์ (John Dillinger Day) ในวันที่ 22 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งบรรดาแฟนคลับจะไปรวมตัวกัน ณ โรงภาพยนตร์ไบโอกราฟ ย่านลินคอร์น ปาร์ค ชิคาโก เพื่อเดินไปบนเส้นทางที่เขาเคยวิ่งหลบกระสุน ก่อนจะลาโลกไป

เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้คนชื่นชอบจอห์น ดิลลินเจอร์เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว เขาไม่ใช่คนที่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้สังคม ตรงกันข้าม เขาเป็นจอมวายร้าย เป็นโจรที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง ในฐานะผู้นำแก๊งค์ปล้นธนาคารหลายแห่ง ปล้นอาวุธของทางการ สังหารผู้คน และเป็นเซียนแห่งการแหกคุก

แต่ประชาชนก็รักใคร่เขา เพราะในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำจนผู้คนเดือดร้อน และไร้ความหวังไปทุกหย่อมหญ้า พวกนายธนาคาร และชนชั้นสูงของสังคมเป็นพวกที่ถูกมองยังมีความเป็นอยู่อู้ฟู่ และคงความร่ำรวยเสมอ บนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจ ดังนั้น จอมโจรผู้เข้ามาสร้างความฮือฮาด้วยการปล้นธนาคาร จึงกลายเป็นวีรบุรุษ จนได้ฉายาว่าเป็นโรบิน ฮู้ดยุคใหม่

ดิลลินเจอร์ เป็นชาวเมืองอินเดียนาโปลิส หลังจากลืมตามาดูโลกในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1903 ได้เพียง 3 ปี แม่ก็เสียชีวิต ทิ้งให้เด็กน้อยอยู่กับพ่อในร้านขายของชำ และแม่เลี้ยงคนใหม่ ที่เข้ากับลูกเลี้ยงไม่ได้ ดิลลินเจอร์จึงเติบโตมาแบบเด็กมีปัญหา ไม่เล่าเรียนหนังสือ แถมยังเกเรเกตุง และเริ่มการลักเล็กขโมยน้อย แม้ครั้งหนึ่งเขาเคยพยายามเปลี่ยนชีวิตด้วยการไปสมัครเป็นนาวิกโยธิน แต่ก็อยู่ไม่รอด ต้องหนีกลับบ้าน

แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่ว ประกอบกับการที่ไม่มีวุฒิการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอัน พ่อหนุ่มดิลลินเจอร์หางานทำอะไรก็ไม่ได้ จนทำให้เขาตัดสินใจเข้าร่วมกับพวกแก๊งค์โจรในย่านอินเดียนาโปลิส เริ่มจากแก๊งค์ของเอ็ด ซิงเกอร์ตัน ที่พาดิลลินเจอร์ไปขโมยของในร้านค้า

แต่การประพฤติตนเป็นโจรอย่างเต็มตัวครั้งแรกของดิลลินเจอร์ก็ไปไม่รอด คู่หูคู่ใหม่โดนจับได้ ซิงเกอร์ตันซึ่งสู้คดีอย่างแข็งขันได้รับการพิพากษาจำคุกเพียง 2 ปี ในขณะที่ดิลลินเจอร์ที่อุตส่าห์รับสารภาพตั้งแต่ต้นเจอเข้าไป 20 ปี แต่หลังจากอยู่ในซังเตนาน 8 ปีเศษ ก็ได้รับทัณฑ์บนให้ออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้ตามปกติ

แต่นั่นก็เป็นการเปลี่ยนแปลงดิลลินเจอร์ไปตลอดกาล

คุก..ทำให้หนุ่มอ่อนโลกกลายเป็นหนุ่มผู้แข็งแกร่ง รวมถึงการได้เพื่อนมากมายในนั้น ดิลลินเจอร์ทำความรู้จักกับโจรเก่งๆ หลายคน ดังนั้น เมื่อออกมาจากคุกได้ในกลางปี ค.ศ.1933 ก็นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเป็นจอมโจรของดิลลินเจอร์ ที่หลังจากนั้นก็ปล้นดะ โดยมีธนาคารใหญ่ๆ เป็นเป้าหมายหลัก

กลวิธีการปล้นของดิลลินเจอร์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาโด่งดัง เพราะจอมโจรมาดเนี้ยบคนนี้ไม่ค่อยธรรมดา เขาไม่ได้ใช้วิธีพกปืนไปปล้นอย่างโฉ่งฉ่าง แต่จะสุขุมกว่านั้น เช่น ปลอมตัวเป็นพนักงานขายระบบสัญญาณเตือนภัยเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก่อนจะปล้นเงียบ

หรือแม้แต่การปล้นแบบโฉ่งฉ่างของเขาก็ยังทำจนกลายเป็นตำนาน เพราะดิลลินเจอร์ผู้ฉลาดรอบคอบจะจัดทีมมาทำทีเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ ที่กำลังถ่ายฉากปล้น ทำให้แม้จะมีผู้คนมากมายเห็นการปล้นธนาคาร แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะนึกไปว่าเป็นกองถ่ายหนัง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเงินของธนาคารได้ถูกฉกชิงไปเสียแล้ว พอเรื่องมาแดงทีหลัง แทนที่กระแสมหาชนจะด่าว่าเขา กลับพร้อมใจกันปรบมือให้ในความคิดสร้างสรรค์ที่ทำลายนายแบงค์นี้

อย่างไรก็ตาม ความสุขุม และฉลาดลึกของดิลลินเจอร์ก็ไม่ได้ช่วยให้รอดเสมอไป ตอนที่เข้าปล้นธนาคารในโอไฮโอ เมื่อ 22 กันยายน 1933 เขาก็ถูกจับจนได้ แต่ระหว่างที่ถูกจำขังอยู่ พรรคพวกจำนวนหนึ่งก็แหกคุกไปก่อน แล้วย้อนมาช่วยพาดิลลินเจอร์แหกคุกตามไปด้วย งานนี้สังเวยด้วยชีวิตนายอำเภอที่ถูกยิงดับไป 1 ศพ

ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 1934 ดิลลินเจอร์ก็เข้าซังเตอีกจนได้ คราวนี้เจ้าหน้าที่รัฐเอาไปขังไว้ที่คุกที่มีการดูแลอย่างแน่นหนา แต่ติดคุกได้ไม่ถึง 2 เดือน พ่อหนุ่มก็แหกคุกออกมาได้อีก ด้วยการทำปืนปลอมขึ้นมาจากไม้เอาไปหลอกขู่ผู้คุม และเช่นเคย กระแสมหาชนชื่นชมความสามารถของเขา

เจอเข้าไปหนักอย่างนี้ แถมการปล้นก็ไม่หยุดยั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องขอให้เอฟบีไอเข้ามาช่วยตามล่าดิลลินเจอร์และพรรคพวก งานนี้ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ส สั่งให้เจ้าหน้าที่พิเศษมือดีอย่างแซมมวล เอ คาวเลย์ และเมลวิน เพอร์วิสเข้าไปเป็นทีมไล่ล่า ซึ่งก็เหมือนการเล่มเกมแมวไล่จับหนู ที่มักจะฉิวเฉียด คลาดกันไปคลาดกันมาอยู่หลายที ดิลลินเจอร์ก็ยังหลบได้เรื่อยๆ จนได้รับฉายาว่าพ่อหนุ่มกระต่าย หรือ แจ๊ค แร็บบิต เพราะสามารถหนีตำรวจได้อย่างคล่องแคล่ว พอๆ กับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วในขณะปล้น

ในช่วงท้ายๆ ของการก่อวีรกรรม ดิลลินเจอร์สยายปีกตั้งแก๊งค์ใหญ่ในชิคาโก้ ในขณะที่เอฟบีไอที่ก็ตั้งศูนย์ไล่ล่าเขาอยู่ในเมืองเดียวกัน โดยพลพรรคในแก๊งค์ใหม่ของดิลลินเจอร์เอง ก็ถือเป็นคนดังในหมู่โจร เช่น โฮเมอร์ แวน เมเตอร์, เลสเตอร์ กิลลิส ที่มีฉายาว่าไอ้หน้าอ่อน (เบบี้เฟส) เนลสัน, เอ็ดดี้ กรีน, ทอมมี่ คาร์โรล ฯลฯ

แก๊งค์ที่มั่นคงนี้ทำการปล้นหนักในชิคาโก จนมีการติดประกาศจับ และให้ราคาค่าหัวดิลลินเจอร์และพรรคพวก และนั่นก็นำมาซึ่งจุดจบของวีรบุรุษจอมโจร เมื่อแม่เล้าชาวโรมาเนีย แอนนา เซก ผู้มีชนักติดหลังเรื่องเข้าเมืองผิดกฎหมายตัดสินใจแจ้งเบาะแสแก่ตำรวจ แลกกับการได้อยู่ในชิคาโกต่อ

แม่เล้าคนนี้รู้ดีว่า โสเภณีคนหนึ่งในเครือข่ายของเธอกำลังเป็นหวานใจคนใหม่ของดิลลินเจอร์ เมื่อเธอนำความลับไปแจ้งเอฟบีไอ ก็มีการเตรียมแผนจับกุมทันที โดยเธอได้แจ้งว่าดิลลินเจอร์นัดควงทั้งตัวแม่เล้า และโสเภณีคู่ขาของเขาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ไบโอกราฟ และสาวนกต่อคนนี้จะแต่งชุดแดงเป็นสัญลักษณ์ให้เอฟบีไอรู้

22 กรกรฎาคม 1934 วันมรณะของดิลลินเจอร์มาถึง เอฟบีไอปล่อยให้เขาเข้าไปดูหนังหย่อนอารมณ์เสียก่อน พร้อมตั้งทีมล้อมจับทันทีที่หนังจบ ซึ่งดิลลินเจอร์ก็มาตามนัด ขนาบข้างด้วยสองสาว และทันทีที่เห็นการเคลื่อนไหวของตำรวจ จอมโจรก็รู้ด้วยสัญชาติญาณว่ากำลังงานเข้า ว่าแล้วก็รีบควักปืนออกมาเป็นเครื่องมือให้อุ่นใจ ก่อนจะวิ่งหนี แต่ไม่พ้นเอฟบีไอ 3 คนที่วิ่งตาม และส่งกระสุนไป 5 นัด ในจำนวนนี้ 3 นัดทะลุร่างวีรบุรุษแห่งยุคจนล้มคว่ำ สิ้นชื่อไปด้วยวัยเพียง 31 ปี ทิ้งตำนานจอมโจรไว้เบื้องหลัง และดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ทุกวันครบรอบการเสียชีวิตของเขา 22 กรกฎาคม ถือเป็นวันจอห์น ดิลลินเจอร์ที่บรรดาแฟนคลับจะไปรวมตัวกัน เดินระลึกถึงเขาไปบนเส้นทางแห่งการหนีครั้งสุดท้าย

ศพของดิลลินเจอร์ถูกนำกลับไปฝังที่บ้านเกิด และบ่อยครั้งที่มีแฟนคลับไปเยือนที่พักผ่อนตลอดกาลของเขา พร้อมกับแอบขโมยหินเหนือสุสานไปเป็นที่ระลึก ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่กันบ่อยๆ

ด้านพลพรรคจอมโจรนั้น หลังจากหัวหน้าแก๊งค์ลาโลก เจ้าหน้าที่ก็ตามล่าหัวสมาชิกที่เหลือ จนจับได้อีก 27 คน ส่วนคนดังที่สุดคือไอ้หน้าอ่อนเนลสันนั้น โดนยิงตายตามไปด้วย และนั่นก็ถือเป็นจุดจบของยุคที่เรียกว่ายุคแก๊งสเตอร์ครองเมืองของดิลิงเจอร์และพรรคพวก ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เกิดจอมโจรมากมายหลายแก๊งค์ จนสื่อมวลชนเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุคแห่งศัตรูของสาธารณะ หรือยุค Public Enemies ในช่วงปี 1931-1935 และล่าสุด คำว่า Public Enemies นี้ก็ได้กลายมาเป็นชื่อเรื่องของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ที่หยิบยกเรื่องราวของดิลลินเจอร์มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเป็นภาพยนตร์

สำหรับอเมริกาแล้ว นี่คือบทเรียนครั้งสำคัญในการปราบปรามเหล่าขุนโจรและจัดการกับความวุ่นวายอันเกิดจากพิษภัยเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งหลังจากการแก้ปัญหาในยุคนี้ ก็นำไปสู่การพัฒนา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเอฟบีไอ จนกลายเป็นหน่วยงานเลื่องชื่อลือนามในปัจจุบัน

บอนนี และไคลด์ คู่แท้จอมโจร



บอนนี่ พาร์กเกอร์ และ ไคลด์ แบร์โรว์ (Bonnie Parker and Clyde Barrow) เป็นคู่สามีภรรยาโจรปล้นธนาคารที่โด่งดังที่สุดกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเดินทางไปในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เพื่อปล้นธนาคาร


ทั้งคู่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 จากการถูกล้อมปราบโดยเจ้าหน้าที่จากมลรัฐเท็กซัส และหลุยเซียนา


เรื่องราวของบอนนี่แอนด์ไคลด์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Bonnie and Clyde (1967) นำแสดงโดย วอร์เรน บีตตี้ และเฟย์ ดันนะเวย์ โดยถ่ายทำในสถานที่จริงในประวัติศาสตร์


เพร็ทตี บอย ฟลอยด์ Charles Arthur Floyd ฆาตกรหมู่ที่แคนซัส


อาชญากรและโจรปล้นธนาคาร นาม Charles Arthur Floyd เกิดในจอร์เจีย พ่อแม่มีลูกด้วยกัน 7 คน ครอบครัวของเขาย้ายไปโอกลาโฮมาที่ซึ่งพวกเขาทำประสบล้มล้มเหลวจากการทำฟาร์มและประสบกับความยากจนอย่างหนัก

เมื่ออาชีพแรกไม่ประสบความสำเร็จ Floyd จึงหันเหไปเป็นโจรแทนเพื่อหลีกหนียุคแห่งความยากลำบากของเกษตรกรขณะนั้น ("Dust Bowl")

Floyd แต่งงานกับ Ruby Hargrove เมื่อปี 1921 มีลูกชายด้วยกัน 1 คนคือ Jack Dempsey Floyd ซึ่งในขณะที่ลูกคลอดนั้น Floyd ยังต้องโทษจำคุก 3 ปีในข้อหาปล้นร้าน Kroger ใน เซนต์หลุยส์ และในตอนนั้นพวกเขาหย่ากันแล้ว


เมื่อพ้นโทษออกมาอยู่ที่บ้านของพ่อแม่ เขาได้พูดว่าจะฆ่าชายคนที่กล่าวหาเขา ทำให้เขาต้องติดคุก หลังจากนั้นถูกจับเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าพ่อตัวเอง หลังจากที่มีประกาศว่าเขาพ้าผิด เขาก็ไปเป็นมือปืนรับจ้างให้กับคนขายเหล้าเถื่อนผู้ขยายอิธิพลไปตลอดฝั่งแม่น้ำโอไฮโอ


หลังจากเป็นที่รู้จักกันในวงการโจรว่าเขาเป็นพวกชอบรัวปืนกลแบบไม่ยั้งคิด เขาก็ได้เข้าร่วมกับแก๊งหนึ่งไปปล้นธนาคารหลายที่ใน Ohio หลังจากนั้นไม่นานก็ย้ายไปมิชิแกนเคนทักกี และ โอกลาโฮมา ในขณะที่เขากำลังสนุกสนานกับวีรกรรมวีรเวรของตนเองอยู่นั้น มีรายงานว่าอัตราการจ่ายค่าประกันภัยของธนาคารในโอกลาโฮมาเพิมขึ้นเป็น 2 เท่า และเขาได้กลายเป็นขวัญใจประชาชนจากการเข้าไปทำลายเอกสารหลักฐานการจำนองในแต่ละธนาคารที่เข้าไปปล้นและปลดปล่อยหนี้ให้ประชาชนจำนวนมาก

เช้าตรู่วันที่ 17 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1933 ประวัติศาสตร์ต้องจารึกว่านี้เป็นอาชญากรรมของ FBI ก็เป็นบันทึกลงในแฟ้มอาชญากรรมของ FBI เมื่อเจ้าหน้าที่ 3 คน และสารวัตรสืบสวนตำรวจโอคลาโฮมา 1 นาย ถูกฆาตกรรมกลางแจ้งขณะควบคุมจอมอาชญากรที่ก่อคดีมากมายคนหนึ่งกลับสู่เรือนจำหลังจากหลบหนีมานานถึง 3 ปี


คดีนี้ช็อกคนทั่วแคนซัส ซิตีทั้งเมืองเพราะมันเกิดขึ้นกลางเมืองต่อหน้าสาธารณชนมากมาย ทำให้นำไปสู่การจับตายมือปืนที่เป็นต้นเหตุนาม ชาร์ลส์ อาร์เธอร์ ฟรอยด์ หรือฉายา เพร็ตตี บอย ฟลอยด์ในเวลาต่อมา


ภายหลังที่ John Dillinger ถูกจับกุมตัวได้ ชื่อของ Charles Arthur Floyd กลายมาเป็นศัตรูหมายเลข 1 ของรัฐบาลในทันทีและถูกตั้งค่าหัวถึง 23,000 ดอลลาร์ ไม่ว่าจับเป็นหรือตาย และในที่สุดในปี 1934 Floyd ก็ถูกวิสามัญโดยเ้จ้าหน้าที่ FBI นายหนึ่ง ในขณะกำลังหลบหนีหลังจากที่ไปปล้นธนาคารแห่งหนึ่งมาและถูกไล่ล่า


Floyd กลายเป็นตำนานและถูกกล่าวถึงในเพลงเพลงหนึ่งของ Woody Guthrie ชื่อเพลง "Pretty Boy Floyd."


คดีลักพาตัวหนูน้อย ลินด์เบริก (1976) The Lindbergh Kidnapping Case



หนูหน้อยวัยกำลังหัดเดิน ชาร์ล ออกุสตุส จูเนียร์ (Charles Augustus Lindbergh, Jr.)บุตรชายคนเดียวของนาย ชาร์ล ลินเบิร์ก Charles Lindbergh ผู้มีอาชีพนักบิน และนาง แอน มอร์โรว ลินเบิร์ก Anne Morrow Lindbergh ถูกลักพาตัวไปจากบ้านของพวกเขา ใน East Amwell, New Jersey ใกล้ เมือง Hopewell, New Jersey ในช่วงเย็นของวันที่ 1 มีนาคม 1932 จากนั้น 2 เดือนให้หลัง วันที่ 12 พฤษภาคม 1932 มีคนพบศพของพ่อหนูน้อยไม่ไกลนักจากบ้านของพวกเขาเอง


การทดสอบทางการแพทย์ระบุว่ากระโหลกศีรษะของเด็กน้อยถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงจนแตก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต


หลังจากการสืบสวนกว่า 2 ปี Bruno Richard Hauptmann ถูกจับกุมในข้อหาฆารกรรม ในช่วงของการสอบสวนนับตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 13 กุมภาพันธ์ 1935 เขาพบกับคำตัดสินสูงสุดของศาลนั่นคือการถูกประหารโดยการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ณ เรือนจำ New Jersey State วันที่ 3 เมษายน 1936 เวลา 20:44 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทว่า Hauptmann ได้ประกาศตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต


นักหนังสือพิมพ์นาม H.L. Mencken เรียกขานเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุน่าเศร้านี้ว่า "เรื่องใหญ่ที่สุดนับแต่การฟื้นคืนชีพ" ("the biggest story since the Resurrection.") เพราะคดีนี้เป็นคดีที่มีผลให้ทางสภาคอนเกรสได้ผ่านพระราชบัญญัติทั่วไปฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็กข้ามสหพันธรัฐ ที่เรียกว่า "กฏหมายลินเบิร์ก"


เรื่องของหนูน้อยลินเบิร์ก ผู้เีขียนพบรายละเอียดที่น่าสนใจค่อนข้างมากจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ไว้จะนำมาขยายความแยกต่างหาก ในบทความต่อไปค่ะ


ผู้เขียน

คดีฆาตกรรมดังของ O. J. Simpson

คดีที่สะเทือนความรู้สึกมากๆ คดีหนึ่งของคนอเมริกันและชาวลอสแองเจลิส เมื่อปี 1994 นั่นคือ O. J. Simpson นักอเมริกันฟุตบอลชื่อดังในขณะนั้น ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรม นิโคล บราวน์ ซิมสัน Nicole Brown Simpson ภรรยาเก่าของเขา และ เพื่อนชายของเธอ โรนัลด์ โกลด์แมน Ronald Goldman

Orenthal James "O.J." Simpson เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 1947 โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อโอเจ (O.J. ศัพท์แสลงอเมริกาจะหมายถึงน้ำส้ม โอเจก็เลยมีชื่อเล่นว่า The Juice ด้วย) ซิมป์สันมีช่วงชีวิตอันรุ่งเรืองที่สุดในขณะที่เขาเป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ในขณะที่เขายังอยู่ในทีมของมหาวิทยาลัย เขาก็ได้รับรางวัล The Heisman Trophy, The Maxwell Award และThe Walter Camp Award ในปี 1968 ซึ่งเมื่อเรียนจบในปี 1969ชื่อของเขาก็เป็นชื่อแรกที่ถูกชี้ตัวในการคัดสรรตัวนักกีฬาของ NFL

NFL ใช้ระบบให้ทีมที่ทำคะแนนไว้ต่ำที่สุดมีสิทธิ์ก่อนในการเลือกนักกีฬาเข้าทีม ซิมป์สันจึงกลายมาเป็นนักกีฬาของ Buffalo Bills ซึ่งเป็นทีมที่อ่อนแอที่สุดในเวลานั้น (ผลการแข่งในปีก่อน ชนะ1 แพ้12 เสมอ1) ปี 1973 ซิมป์สันทำลายสติถิด้วยระยะการวิ่ง 2003 ยาร์ดและเขาก็เป็นนักกีฬาเพียงคนเดียวจนทุกวันนี้ที่วิ่งมากกว่า 2000 ยาร์ดในการแข่งติดต่อกัน 14 นัด ชื่อของเขาโดดเด่นขึ้นมาในฐานะนักกีฬา MVP และกลายมาเป็นทีมบุกที่แข็งแกร่งที่สุด บัฟฟาโลบิลส์ยังคงทำคะแนนการแข่งได้ไม่ดีนัก แต่ก็มีซิมป์สันนี่เองที่เป็นตัวเรียกแฟนเอาไว้

ตลอดชีวิตนักกีฬา ซิมป์สันทำสติถิการวิ่งไว้ 11,236 ยาร์ด ได้รับรางวัล All-Pro Honor 5 ครั้ง ได้รับเลือกให้เข้าร่วม Pro-Bowl 6 หนปี 1978 เขาเซ็นสัญญาย้ายไปอยู่ San Francisco 49ers หากในปีถัดมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 1979 ก็ประกาศถอนตัวจากการเป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล และในปี 1985 ก็ได้รับเลือกให้มีชื่อยู่ใน The Pro Football Hall of Fame

ซิมป์สันแต่งงานครั้งแรกกับ Marguerite L. Whitley เมื่อปี 1967 ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 3 คนซึ่งลูกสาวคนเล็กจมน้ำตายในสระน้ำที่บ้านก่อนจะอายุครบสองปี และซิมป์สันก็หย่าขาดจากมาเกอริทในปี 1979
ปี 1985 ซิมป์สันแต่งงานใหม่กับ Nicole Brown พวกเขามีลูกด้วยกัน2 คน ปี 1989 ซิมป์สันถูกฟ้องในคดีใช้ความรุนแรงในครอบครัวและแยกกันอยู่กับนิโคลเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะหย่าขาดจากในกันในปี 1992 และในวันที่ 13 มิถุนายน 1994 นิโคล บราวน์ และโรนัลด์ โกลด์แมน(Ronald Goldman) เพื่อนของเธอก็ถูกพบเป็นศพถูกแทงเสียชีวิตที่บ้านพักของนิโคลในเขตบันดี้ไดรว์เบนต์วู้ด รัฐแคลิฟอร์เนีย จากหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุทำให้ตำรวจเชื่อว่าโอเจ ซิมป์สันนี่เองที่เป็นคนร้ายในคดี ขณะนั้นซิมป์สันอยู่ที่ชิคาโก้ ซึ่งเมื่อได้รับการติดต่อจากตำรวจ เขาก็ขึ้นเครื่องมายังแคลิฟอร์เนีย ทันทีที่เขาลงจากเครื่องบิน เขาก็ถูกใส่กุญแจมือทันควัน หากโดยความช่วยเหลือของฮาวาร์ด ไวส์แมนซึ่งเป็นทนายประจำตัวก็ทำให้ซิมป์สันได้รับการปล่อยตัวในไม่ช้า

ในตอนแรก ซิมป์สันยังจัดการเรื่องราวต่างๆด้วยท่าทีใจเย็น แต่แล้วในวันที่ 17 มิถุนายน เขาก็ขับรถหนีไปตามแคลิฟอร์เนียไฮเวย์โดยที่มีรถตำรวจขับไล่จี้มาและถูกจับในท้ายที่สุดในฐานะนักโทษคดีฆาตกรรมระดับ 1 การไล่ล่าดังกล่าวนี้ถูกถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์และผู้ชมบางคนถึงกับส่งเสียงเชียร์ซิมป์สัน กระทั่งการแข่ง NBA Finals ก็ยังถูกลืมเลือนไปในขณะที่ผู้ชมเฝ้าติดตามการไล่ล่านี้อย่างใกล้ชิด

การขึ้นศาลอาญาของซิมป์สันเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายนซึ่งซิมป์สันยืนกรานว่าตัวเองบริสุทธิ์ 100%ที่น่าสนใจก็คือทั้งฝ่ายทนายจำเลยและฝ่ายอัยการต่างก็ถูกคัดสรรมาจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายทั่วอเมริกาจนศาลนี้ถูกยกให้เป็นคดีแห่งยุค และไม่ว่าจะมองจากสายตาใคร ต่างก็เห็นได้ว่าฝ่ายทนายจำเลยซึ่งถูกตั้งฉายาว่า"ดรีมทีม"นั้นยิ่งมีคุณภาพสูงยิ่งกว่าฝ่ายอัยการเสียอีก แต่ละคนต่างก็เคยรับผิดชอบในคดีที่มีชื่อเสียงของอเมริกามาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งซิมป์สันต้องจ่ายค่าใช้จ่าย 4 ล้านดอลล่าร์เป็นค่าทนายในคดีนี้

ฝ่ายอัยการ
- มาร์เซีย คลาร์ก (หัวหน้าทีม)
- กิล การ์เซ็จ
- วิลเลี่ยม ฮอจแมน
- คริสโตเฟอร์ ดาร์เดน
- ไบรอัน เคลเบิร์ก
- ลิซ่า คานส์

"ดรีมทีม" ทนายฝ่ายจำเลย

- จอห์นนี่ คอชรัน (หัวหน้าทีม - ผู้เชี่ยวชาญคดีเหยียดสีผิวอันดับหนึ่งของอเมริกา เคยรับผิดชอบคดีไมเคิ่ล แจ็คสัน)
- เฮนรี่ ลี (นักวิชาการแพทย์ศาสตร์ชาวจีน เคยรับผิดชอบคดีลอบสังหารจอห์น F. เคเนดี้ และคดีฆาตกรรมจอนเบเน็ต)
- โรเบิร์ต ชาปีโร (มีชื่อเสียงว่าเป็นทนายอันดับหนึ่งของอเมริกา เคยรับผิดชอบคดีดาราหลายคดี)
- บาร์รี่ เชค (นักวิชาการด้านการวิเคราะห์ DNA)
- ปีเตอร์ นิวฟิลด์ (นักวิชาการด้านการวิเคราะห์ DNA)
- เจรัลด์ วูลเมน (คหบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยซานต้าคราล่า)
- ฟรานซิส ลี เบย์เลย์ (เคยรับผิดชอบคดีอลิซาเบธ เฮิร์สต)
- อลัน เดอร์โชวิทซ์ (นักวิชาการกฏหมายมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เคยรับผิดชอบคดีไมค์ ไทสัน)
- ไมเคิ่ล บาร์เดน (อดีตอัยการนิวยอร์ค เคยรับผิดชอบการผ่าศพบาทหลวงคิงก์)

และจากการที่โจกท์เป็นคนผิวขาวและจำเลยเป็นคนผิวดำ ทำให้ปัญหาเรื่องสีผิวถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของคดี และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความไม่ยุติธรรมขึ้นในภายหลัง แลนซ์ อิโต้ซึ่งเป็นชาวอเมริกาเชื้อสายญี่ปุ่นจึงถูกเลือกขึ้นมาเป็นผู้พิพากษาของคดี

นอกจากนี้ ฝ่ายทนายยังเรียกร้องให้คัดตัวคณะลูกขุนจากเขตที่มีผู้อาศัยเป็นคนผิวดำในเปอร์เซนต์ที่มากกว่า และยังใช้สิทธิ์พิเศษในการปฏิเสธ (สิทธิ์ที่ถูกยอมรับให้ใช้ได้ทั้งฝ่ายทนายจำเลยและอัยการ ให้สามารถคัดตัวบุคคลที่ถูกเลือกมาเป็นลูกขุนออกโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลในจำนวนครั้งที่กำหนดไว้) ทำให้ในคณะลูกขุน 12 คนนั้นเป็นคนผิวดำถึง 9 คน

เนื่องจากคดีดังกล่าวได้รับความสนใจจากคนทั่วไปเป็นอย่างมาก ระหว่างการขึ้นศาลนี้ คณะลูกขุนจึงถูกกักตัวอยู่ในโรงแรม และถูกห้ามไม่ให้อ่านหนังสือพิมพ์หรือดูทีวีได้

มีการหยิบยกคดีนี้ขึ้นมากล่าวผ่านสื่อต่างๆโดยเฉพาะโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวาง ทีมอัยการนำเสนอบันทึกโทรศัพท์ที่นิโคลโทรไปขอความช่วยเหลือจากตำรวจเมื่อ 1 มกราคม 1989 และรอยเท้ากับลายนิ้วมือจำนวนมากในที่เกิดเหตุเพื่อชี้ให้เห็นว่าซิมป์สันฆ่านิโคลเพราะความหึงหวง และเขาอยู่ในที่เกิดเหตุในคืนที่นิโคลถูกฆ่า

ในทางกลับกัน ฝ่ายทนายจำเลยชี้ให้เห็นว่าซิมป์สันเป็นเพียงแพะรับบาปของตำรวจ และหลักฐาน DNA ที่ถูกนำเสนอมานั้นถูกมาร์ค เฟิรแมนซึ่งเป็นสารวัตรผู้รับผิดชอบที่เกิดเหตุ (เป็นที่รู้จักกันดีว่ารังเกียจคนผิวดำ) ทำการปลอมแปลงหลักฐานจนไม่สามารถเชื่อถือได้ ซึ่งในจุดนี้เองที่กลายมาเป็นอาวุธสำคัญของฝ่ายดรีมทีม พวกเขาแจกแจงความไม่น่าเชื่อถือของหลักฐานจากฝ่ายอัยการและดึงให้คดีกลายเป็นเรื่องของการเหยียดสีผิว

หลักฐานอันอื้อฉาวอีกชิ้นของคดีนี้ก็คือถุงมือหนังเปื้อนเลือดที่พบในที่เกิดเหตุ ในการขึ้นศาลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1995 คอชรันพยายามกระตุ้นให้ดาร์เดนนำถุงมือดังกล่าวมาให้ซิมป์สันลองสวม ซึ่งในข้อนี้ ฝ่ายอัยการได้ตัดสินใจแต่เนิ่นๆแล้วที่จะไม่ทำเช่นนั้น เพราะถุงมือนั้นโชกไปด้วยเลือด ซ้ำยังยับเยินจากการเก็บหลักฐานหลายครั้งหลายหน (แช่แข็งแล้วก็ละลายน้ำแข็ง) ดาร์เดนถูกกำชับจากผู้เชี่ยวชาญว่าต้องไม่ให้ซิมป์สันลองถุงมือแม้ว่ามันน่าจะพอดีมือของเขาในสภาพที่ดีกว่านี้ หากหลังจากการโต้เถียงในกลุ่มอัยการ ดาร์เดนก็ใช้อำนาจในการตัดสินของตัวเอง นำถุงมือมาให้ซิมป์สันลองสวม

ผลปรากฏว่ามันเล็กเกินไปสำหรับมือซิมป์สัน

ทนายจำเลยไม่ปล่อยให้โอกาสทองหลุดรอดไป คอชรันไม่เพียงแต่จะอ้างความไม่น่าเชื่อถือของถุงมือนี้เท่านั้น เขายังโยงมันไปถึงหลักฐานอีกหลายชิ้นของฝ่ายอัยการอีกด้วย
จากการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกา ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันส่วนมากเชื่อว่าซิมป์สันไม่ได้ก่อคดีนี้จริงและเชื่อว่าคำตัดสินอาจกลายเป็นการส่งเสริมอำนาจอันไม่เที่ยงธรรมของตำรวจต่อผู้ต้องหา ในขณะที่คนผิวขาวจำนวนมากในแบบสำรวจเดียวกันเชื่อว่าซิมป์สันกระทำผิดจริง

ความขัดแย้งระหว่างสีผิวคุกรุ่นอยู่เบื้องหลังการดำเนินคดีจนมีการเกรงว่าจะเกิดการจลาจลระหว่างสีผิวเช่นเดียวกับที่เคยเกิดในปี 1992*(อ่านรายละเอียดได้ข้างล่างค่ะ)

วันที่ 3 ตุลาคม 1995 เพียง 3 ชั่วโมงหลังการประชุมของคณะลูกขุน ซิมป์สันก็ถูกประกาศต่อหน้าชาวอเมริกัน 150 ล้านคนหน้าจอทีวีว่า "ไม่มีความผิด"

แต่ถึงแม้ว่าซิมป์สันจะรอดจากคดีอาญามาได้ เขาก็ยังถูกฟ้องต่อในคดีแพ่งของโรนัลด์ โกลด์แมน (เฟรด โกลด์แมน พ่อของโรนัลด์เป็นผู้ฟ้อง) มาคราวนี้สถานภาพทางการเงินของซิมป์สันเริ่มคลอนแคลนทำให้เขาไม่สามารถจ้างจอห์นนี่ คอชรันมาเป็นทนายต่อได้ เพื่อนของคอชรันจึงเข้ามารับผิดชอบคดีแทน จะอย่างไรก็ดี จากการที่ไม่มีการนำปัญหาการเหยียดสีผิวมาเป็นอาวุธในศาล การที่คณะลูกขุนเป็นคนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ และการที่ซิมป์สันไม่มาให้การในศาล เขาแพ้คดีแพ่งในที่สุด ซิมป์สันถูกตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยให้กับครอบครัวโกลด์แมนรวมเป็นเงิน 8,500,000 ดอลล่าร์ หากเขาก็ไม่มีกำลังทรัพย์พอจะจ่ายได้ ซิมป์สันต้องขายคฤหาสน์ของตนเพื่อรวบรวมเงินมาและสิ้นเนื้อประดาตัวในที่สุด

ขอบคุณ WIKIPEDIA และ คุณหมอ วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี สำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ



DSI : กรมสอบสวนคดีพิเศษ (Department Of Special Investigation)
สืบสวน สอบสวน อาชญากรรม ลิขสิทธิ์ ภาษี คุ้มครองผู้บริโภค

พันธกิจกรมสอบสวนคดีพิเศษ

1. สืบสวน สอบสวนป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
2. พัฒนาบุคลากร โครงสร้าง มาตรฐานและองค์ความรู้เพื่อเป็นผู้นำในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
3. เสริมสร้างบุคลากรให้มีมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการสืบสวนสอบสวนป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมคดีพิเศษ

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรง เป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโน
โลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครืองข่ายองค์กร โยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นโดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION” มีชื่อย่อว่า “DSI” ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ พัฒนารูป
แบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด

อำนาจหน้าที่

1. ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่งคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ และมาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่งคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร
4. พัฒนาบุคลากร โดยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความรู้ ความสามารถคุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ
5. ประสานส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปราบปรามและ ควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ

คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ

คดีพิเศษหรือคดีอาชญากรรมพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. 2547(แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
5. คดีคามผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้
ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา

ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (5)และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ.เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547(แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551)ี

บัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ

1. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
2. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า
3. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
4. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์
6. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
7. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
8. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
9. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
10. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า
11. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
12. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
13. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
14. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
15. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
16. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
17. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
18. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
19. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
20. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
21. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร
22. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
23. คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
24. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
25. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
26. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
27. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ

กฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

1. คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
2. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
4. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
5. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ


อ้างอิง - กรมสอบสวนคดีพิเศษ http://www.dsi.go.th

CIA คือใคร


ซีไอเอ (Central Intelligence Agencies : CIA)


หน่วยข่าวกรองกลาง เป็นองค์กรของสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 โดยประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน และเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 มีจุดมุ่งหมายหลักในการตั้งขึ้นเพื่อการสืบข่าวกรองทางด้านการทหาร ข้อมูลลับในต่างประเทศที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อสหรัฐอเมริกา

ประวัติ

สหรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ต่อมาเริ่มมีการประสานงานบนพื้นฐานระดับรัฐบาลอย่างกว้างขวางตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการพัฒนาโครงการที่โดดเด่นสามโครงการเพื่อการประสานงานข่าวกรองพื้นฐานคือ

1. การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ
2. การสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ
3. หนังสือความจริงของโลก

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ข่าวกรองพื้นฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐ มีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งของข่าวสาร การโจมตีของญี่ปุ่นต่ออ่าวเพิร์ลในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ผู้นำในรัฐสภาและผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ต้องการที่จะสรุปการรายงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้กำหนดนโยบายของชาติ รายละเอียดและการประสานงานข่าวสาร มีความต้องการไม่ได้เพียงแต่ประเทศที่มีมหาอำนาจเช่น เยอรมนี หรือ ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมรภูมิแปซิฟิค กองทัพเรือและนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกต่อเกาะจำนวนมากที่ซึ่งข่าวสารไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่มีมาก่อน ผู้มีอำนาจการข่าวกรองได้แก้ปัญหาเช่นนั้นก็เพื่อไม่ต้องการให้สหรัฐถูกกระทำแบบที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนเกิดขึ้นอีก

ปี พ.ศ. 2486 นายพล จอร์จ สตรอง และนายพลเรือ เทรน (สำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือ) และ นายพล วิลเลี่ยม โดโนแวน (ผู้อำนวยการสำนักงานบริการยุทธศาสตร์) มึความตกลงร่วมกันที่จะสถาปนาหน่วยงานความพยายามร่วม คณะกรรมาธิการได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยได้เสนอแนะการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและเผยแพร่ข่าวกรองร่วม เพื่อก่อตัว แก้ไข ประสานงาน และตีพิมพ์ การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ (JANIS : เจนิส)
เจนิส จึงเป็นโครงการข่าวกรองพื้นฐานระหว่างกระทรวงหน่วยแรกที่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ สำหรับการประเมินการประสานงานและการแบ่งมอบอำนาจของข่าวกรองยุทธศาสตร์พื้นฐาน ในระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 – กรกฎาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมการได้ตีพิมพ์ การศึกษาของเจนิสจำนวน 34 ฉบับ เจนิสได้ปฏิบัติงานได้ดีระหว่างสงคราม และความต้องการข่าวกรองพื้นฐานที่ละเอียดซับซ้อนมีสูงขึ้นหลังสงครามโลก

eeis_03_img1076.jpg

หน่วยข่าวกรองกลาง หรือ ซีไอเอ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 และเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลางเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยรับมอบความรับผิดชอบงานต่อจาก เจนิส เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ออกคำสั่ง กำหนดการปฏิบัติการข่าวกรอง หมายเลข 3 ที่มอบอำนาจให้ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่ระหว่างช่วงสันติแทนช่วงสงครามของโครงการเจนิส ก่อนแผนกประเทศ ของ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ จะผลิตข่าวกรองได้อย่างเพียงพอ หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องพัฒนาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และแผนที่ที่ดีขึ้น คณะกรรมการสหรัฐเรื่องชื่อภูมิศาสตร์รวบรวมรายชื่อ กระทรวงมหาดไทยผลิตอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และ หน่วยข่าวกรองกลางผลิตแผนที่


คณะกรรมการฮูเวร์ของคณะกรรมมาธิการคล้าก ถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบการบริหารของหน่วยข่าวกรองกลาง และได้รายงานต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2498 ว่า “โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ เป็นสิ่งตีพิมพ์ที่หาค่ามิได้ซึ่งให้ข้อมูลข่าวกรองพื้นฐานที่จำเป็นของทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเพื่อรักษาให้การสำรวจข้อมูลมีความทันสมัยตลอดไป” หนังสือความจริงของโลก ได้จัดทำขึ้นเป็นสรุปรายงานประจำปีและปรับปรุงให้เป็นสารานุกรมของการศึกษาโครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ หนังสือความจริงของโลกฉบับมีชั้นความลับเล่มแรกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2505 และฉบับไม่จำกัดชั้นความลับพิมพ์ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2514

โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2516 ยกเว้นส่วนของ หนังสือความจริงของโลก แผนที่ และอักรานุกรมภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1975 หนังสือความจริงแห่งโลกได้รับการจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกต่อสาธารณาชนโดยผ่านสำนักพิมพ์รัฐบาล ในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่ 57 ของการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองกลาง และปีที่ 61 ของความต่อเนื่องข่าวกรองพื้นฐานที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐโดยการจัดทำ หนังสือความจริงของโลก


http://th.wikipedia.org

บทความอ้างอิง

The United States has carried out intelligence activities since the days of George Washington, but only since World War II have they been coordinated on a government-wide basis. President Franklin D. Roosevelt appointed New York lawyer and war hero, William J. Donovan, to become first the Coordinator of Information, and then, after the US entered World War II, head of the Office of Strategic Services (OSS) in 1942. The OSS – the forerunner to the CIA – had a mandate to collect and analyze strategic information. After World War II, however, the OSS was abolished along with many other war agencies and its functions were transferred to the State and War Departments.

It did not take long before President Truman recognized the need for a postwar, centralized intelligence organization. To make a fully functional intelligence office, Truman signed the National Security Act of 1947 establishing the CIA. The National Security Act charged the CIA with coordinating the nation’s intelligence activities and correlating, evaluating and disseminating intelligence affecting national security.

On December 17, 2004, President George W. Bush signed the Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act which restructured the Intelligence Community by abolishing the position of Director of Central Intelligence (DCI) and Deputy Director of Central Intelligence (DDCI) and creating the position the Director of the Central Intelligence Agency (D/CIA). The Act also created the position of Director of National Intelligence (DNI), which oversees the Intelligence Community and the National Counterterrorism Center (NCTC).

www.cia.gov