2.19.2553

สุดยอด 5 คดีดัของเอฟบีไอ

สุดยอด 5 คดีของเอฟบีไอ


นับแต่อดีตมานั้นเอฟบีไอต้องเจออาชญากรระดับบิ๊กอยู่หลายคดี ระดับที่แทบระดมคนทั้งกรมเพื่อตามล่า สืบสวนกันเลยที่เดียว


แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้บางคนอาจเป็นฮีโร่หรือตัวช่วยสร้างสีสันให้กับความฝันของผู้คนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สำหรับรัฐแล้ว พวกนี้มักถูกหมายหัว เพราะทำให้รัฐ "เสียหน้า" คนเหล่านี้จึงต้องถูกขึ้นบัญชีของ FBI เพื่อทำการลบชื่ออกไปจากสังคม อย่างที่เราเคยเห็นตัวอย่างแนวคิดนี้ในหนังใรั่งหลายเรื่องก็ตาม


อัล คาโปน เจ้าพ่อที่เหนือเจ้าพ่อ



อัล คาโปน เขาเป็นนักธุรกิจ หัวหน้าแก๊ง และจอมวายร้าย ในช่วงทศวรรษที่ 20-30 เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในทำเนียบ "เจ้าพ่อมาเฟีย"ในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ที่ FBI มีแฟ้มประวัติอาชญากรรมของเขาหนานับพันหน้า แต่ไม่เคยเอาผิดเขาได้เลยสักครั้ง และความฉลาดเอาตัวรอดของเขา ต้องอัลคาโบนดันมาตายน้ำตื้นจากข้อหาที่เจ้าหน้าที่ที่ยัดความผิดข้อหาเดียวคือ "หลีกเลี่ยงภาษี" จนกระทั้งถูกส่งตัวไปยังคุกอัคาทราซแบบไม่เกิดเลย


แต่ถึงอย่างไร อัล คาโปน ยังมีนิสัยน่ารักอย่างหนึ่งคือเขาไม่เคยทำให้ผู้บริสุทธิ์เดือดร้อนเลยยกเว้นกับคู่อริที่เห็นเมื่อไหร่เป็นต้องยิงทิ้ง แต่เขาก็สั่งไม่ให้ฆ่าเด็ก ผู้หญิง คนแก่ และครอบครัวของคู่อริด้วย โอ้...ช่างน่ารักจริงๆ


จอห์น ดิลลิงเจอร์ สุภาพบุรษจอมโจร



อันนี้เป็นสื่อมวลชนตั้งฉายากันไปเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์การค้าครับ กับ จอห์น ดิลลิงเจอร์ หัวหน้าแก๊งโจรปล้นธนาคารที่โด่งดังที่สุดในเขตรัฐโอไฮโอ และอินเดียน่า ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เพราะตลอดเพียงปีเดียวของการก่ออาชญากรรม จอห์น ดิลลิงเจอร์ และแก๊งของเขาปล้นธนาคารถึง 22 ครั้ง ได้เงินไปราว 3 แสนกว่าดอลลาร์ นอกจากนั้นยังยิงเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนบริสุทธิ์เสียชีวิตอีก 15 คน บาดเจ็บอีก 17 คน เขาเคยถูกจับ 3 ครั้ง แต่หนีออกมาได้ทุกครั้ง จนทำให้ผู้อำนวยการ FBI ถึงกับต้องออกประกาศทางวิทยุด้วยตนเองประกาศจับว่า "มันคือขุนโจรร้ายแห่งยุคและเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของชาติ"


เกร็ดชีวิตจริงของวีรบุรุษจอมโจร จอห์น ดิลลินเจอร์

ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกอย่างนี้ และวันเวลาได้ผ่านเข้ามาถึงเดือนกรกฎาคม ทำให้นึกถึงคนคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นวีรบุรุษในห้วงเวลาวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 30 ชื่อของเขาคือ จอห์น ดิลลินเจอร์ บุรุษผู้ที่คนรักใคร่ และให้เกียรติ จนมีการยกวันที่เขาเสียชีวิต เป็นวันจอห์น ดิลลินเจอร์ (John Dillinger Day) ในวันที่ 22 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งบรรดาแฟนคลับจะไปรวมตัวกัน ณ โรงภาพยนตร์ไบโอกราฟ ย่านลินคอร์น ปาร์ค ชิคาโก เพื่อเดินไปบนเส้นทางที่เขาเคยวิ่งหลบกระสุน ก่อนจะลาโลกไป

เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้คนชื่นชอบจอห์น ดิลลินเจอร์เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว เขาไม่ใช่คนที่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้สังคม ตรงกันข้าม เขาเป็นจอมวายร้าย เป็นโจรที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง ในฐานะผู้นำแก๊งค์ปล้นธนาคารหลายแห่ง ปล้นอาวุธของทางการ สังหารผู้คน และเป็นเซียนแห่งการแหกคุก

แต่ประชาชนก็รักใคร่เขา เพราะในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำจนผู้คนเดือดร้อน และไร้ความหวังไปทุกหย่อมหญ้า พวกนายธนาคาร และชนชั้นสูงของสังคมเป็นพวกที่ถูกมองยังมีความเป็นอยู่อู้ฟู่ และคงความร่ำรวยเสมอ บนซากปรักหักพังของเศรษฐกิจ ดังนั้น จอมโจรผู้เข้ามาสร้างความฮือฮาด้วยการปล้นธนาคาร จึงกลายเป็นวีรบุรุษ จนได้ฉายาว่าเป็นโรบิน ฮู้ดยุคใหม่

ดิลลินเจอร์ เป็นชาวเมืองอินเดียนาโปลิส หลังจากลืมตามาดูโลกในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1903 ได้เพียง 3 ปี แม่ก็เสียชีวิต ทิ้งให้เด็กน้อยอยู่กับพ่อในร้านขายของชำ และแม่เลี้ยงคนใหม่ ที่เข้ากับลูกเลี้ยงไม่ได้ ดิลลินเจอร์จึงเติบโตมาแบบเด็กมีปัญหา ไม่เล่าเรียนหนังสือ แถมยังเกเรเกตุง และเริ่มการลักเล็กขโมยน้อย แม้ครั้งหนึ่งเขาเคยพยายามเปลี่ยนชีวิตด้วยการไปสมัครเป็นนาวิกโยธิน แต่ก็อยู่ไม่รอด ต้องหนีกลับบ้าน

แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่ว ประกอบกับการที่ไม่มีวุฒิการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอัน พ่อหนุ่มดิลลินเจอร์หางานทำอะไรก็ไม่ได้ จนทำให้เขาตัดสินใจเข้าร่วมกับพวกแก๊งค์โจรในย่านอินเดียนาโปลิส เริ่มจากแก๊งค์ของเอ็ด ซิงเกอร์ตัน ที่พาดิลลินเจอร์ไปขโมยของในร้านค้า

แต่การประพฤติตนเป็นโจรอย่างเต็มตัวครั้งแรกของดิลลินเจอร์ก็ไปไม่รอด คู่หูคู่ใหม่โดนจับได้ ซิงเกอร์ตันซึ่งสู้คดีอย่างแข็งขันได้รับการพิพากษาจำคุกเพียง 2 ปี ในขณะที่ดิลลินเจอร์ที่อุตส่าห์รับสารภาพตั้งแต่ต้นเจอเข้าไป 20 ปี แต่หลังจากอยู่ในซังเตนาน 8 ปีเศษ ก็ได้รับทัณฑ์บนให้ออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้ตามปกติ

แต่นั่นก็เป็นการเปลี่ยนแปลงดิลลินเจอร์ไปตลอดกาล

คุก..ทำให้หนุ่มอ่อนโลกกลายเป็นหนุ่มผู้แข็งแกร่ง รวมถึงการได้เพื่อนมากมายในนั้น ดิลลินเจอร์ทำความรู้จักกับโจรเก่งๆ หลายคน ดังนั้น เมื่อออกมาจากคุกได้ในกลางปี ค.ศ.1933 ก็นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเป็นจอมโจรของดิลลินเจอร์ ที่หลังจากนั้นก็ปล้นดะ โดยมีธนาคารใหญ่ๆ เป็นเป้าหมายหลัก

กลวิธีการปล้นของดิลลินเจอร์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาโด่งดัง เพราะจอมโจรมาดเนี้ยบคนนี้ไม่ค่อยธรรมดา เขาไม่ได้ใช้วิธีพกปืนไปปล้นอย่างโฉ่งฉ่าง แต่จะสุขุมกว่านั้น เช่น ปลอมตัวเป็นพนักงานขายระบบสัญญาณเตือนภัยเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก่อนจะปล้นเงียบ

หรือแม้แต่การปล้นแบบโฉ่งฉ่างของเขาก็ยังทำจนกลายเป็นตำนาน เพราะดิลลินเจอร์ผู้ฉลาดรอบคอบจะจัดทีมมาทำทีเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ ที่กำลังถ่ายฉากปล้น ทำให้แม้จะมีผู้คนมากมายเห็นการปล้นธนาคาร แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะนึกไปว่าเป็นกองถ่ายหนัง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเงินของธนาคารได้ถูกฉกชิงไปเสียแล้ว พอเรื่องมาแดงทีหลัง แทนที่กระแสมหาชนจะด่าว่าเขา กลับพร้อมใจกันปรบมือให้ในความคิดสร้างสรรค์ที่ทำลายนายแบงค์นี้

อย่างไรก็ตาม ความสุขุม และฉลาดลึกของดิลลินเจอร์ก็ไม่ได้ช่วยให้รอดเสมอไป ตอนที่เข้าปล้นธนาคารในโอไฮโอ เมื่อ 22 กันยายน 1933 เขาก็ถูกจับจนได้ แต่ระหว่างที่ถูกจำขังอยู่ พรรคพวกจำนวนหนึ่งก็แหกคุกไปก่อน แล้วย้อนมาช่วยพาดิลลินเจอร์แหกคุกตามไปด้วย งานนี้สังเวยด้วยชีวิตนายอำเภอที่ถูกยิงดับไป 1 ศพ

ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 1934 ดิลลินเจอร์ก็เข้าซังเตอีกจนได้ คราวนี้เจ้าหน้าที่รัฐเอาไปขังไว้ที่คุกที่มีการดูแลอย่างแน่นหนา แต่ติดคุกได้ไม่ถึง 2 เดือน พ่อหนุ่มก็แหกคุกออกมาได้อีก ด้วยการทำปืนปลอมขึ้นมาจากไม้เอาไปหลอกขู่ผู้คุม และเช่นเคย กระแสมหาชนชื่นชมความสามารถของเขา

เจอเข้าไปหนักอย่างนี้ แถมการปล้นก็ไม่หยุดยั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องขอให้เอฟบีไอเข้ามาช่วยตามล่าดิลลินเจอร์และพรรคพวก งานนี้ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ส สั่งให้เจ้าหน้าที่พิเศษมือดีอย่างแซมมวล เอ คาวเลย์ และเมลวิน เพอร์วิสเข้าไปเป็นทีมไล่ล่า ซึ่งก็เหมือนการเล่มเกมแมวไล่จับหนู ที่มักจะฉิวเฉียด คลาดกันไปคลาดกันมาอยู่หลายที ดิลลินเจอร์ก็ยังหลบได้เรื่อยๆ จนได้รับฉายาว่าพ่อหนุ่มกระต่าย หรือ แจ๊ค แร็บบิต เพราะสามารถหนีตำรวจได้อย่างคล่องแคล่ว พอๆ กับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วในขณะปล้น

ในช่วงท้ายๆ ของการก่อวีรกรรม ดิลลินเจอร์สยายปีกตั้งแก๊งค์ใหญ่ในชิคาโก้ ในขณะที่เอฟบีไอที่ก็ตั้งศูนย์ไล่ล่าเขาอยู่ในเมืองเดียวกัน โดยพลพรรคในแก๊งค์ใหม่ของดิลลินเจอร์เอง ก็ถือเป็นคนดังในหมู่โจร เช่น โฮเมอร์ แวน เมเตอร์, เลสเตอร์ กิลลิส ที่มีฉายาว่าไอ้หน้าอ่อน (เบบี้เฟส) เนลสัน, เอ็ดดี้ กรีน, ทอมมี่ คาร์โรล ฯลฯ

แก๊งค์ที่มั่นคงนี้ทำการปล้นหนักในชิคาโก จนมีการติดประกาศจับ และให้ราคาค่าหัวดิลลินเจอร์และพรรคพวก และนั่นก็นำมาซึ่งจุดจบของวีรบุรุษจอมโจร เมื่อแม่เล้าชาวโรมาเนีย แอนนา เซก ผู้มีชนักติดหลังเรื่องเข้าเมืองผิดกฎหมายตัดสินใจแจ้งเบาะแสแก่ตำรวจ แลกกับการได้อยู่ในชิคาโกต่อ

แม่เล้าคนนี้รู้ดีว่า โสเภณีคนหนึ่งในเครือข่ายของเธอกำลังเป็นหวานใจคนใหม่ของดิลลินเจอร์ เมื่อเธอนำความลับไปแจ้งเอฟบีไอ ก็มีการเตรียมแผนจับกุมทันที โดยเธอได้แจ้งว่าดิลลินเจอร์นัดควงทั้งตัวแม่เล้า และโสเภณีคู่ขาของเขาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ไบโอกราฟ และสาวนกต่อคนนี้จะแต่งชุดแดงเป็นสัญลักษณ์ให้เอฟบีไอรู้

22 กรกรฎาคม 1934 วันมรณะของดิลลินเจอร์มาถึง เอฟบีไอปล่อยให้เขาเข้าไปดูหนังหย่อนอารมณ์เสียก่อน พร้อมตั้งทีมล้อมจับทันทีที่หนังจบ ซึ่งดิลลินเจอร์ก็มาตามนัด ขนาบข้างด้วยสองสาว และทันทีที่เห็นการเคลื่อนไหวของตำรวจ จอมโจรก็รู้ด้วยสัญชาติญาณว่ากำลังงานเข้า ว่าแล้วก็รีบควักปืนออกมาเป็นเครื่องมือให้อุ่นใจ ก่อนจะวิ่งหนี แต่ไม่พ้นเอฟบีไอ 3 คนที่วิ่งตาม และส่งกระสุนไป 5 นัด ในจำนวนนี้ 3 นัดทะลุร่างวีรบุรุษแห่งยุคจนล้มคว่ำ สิ้นชื่อไปด้วยวัยเพียง 31 ปี ทิ้งตำนานจอมโจรไว้เบื้องหลัง และดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ทุกวันครบรอบการเสียชีวิตของเขา 22 กรกฎาคม ถือเป็นวันจอห์น ดิลลินเจอร์ที่บรรดาแฟนคลับจะไปรวมตัวกัน เดินระลึกถึงเขาไปบนเส้นทางแห่งการหนีครั้งสุดท้าย

ศพของดิลลินเจอร์ถูกนำกลับไปฝังที่บ้านเกิด และบ่อยครั้งที่มีแฟนคลับไปเยือนที่พักผ่อนตลอดกาลของเขา พร้อมกับแอบขโมยหินเหนือสุสานไปเป็นที่ระลึก ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่กันบ่อยๆ

ด้านพลพรรคจอมโจรนั้น หลังจากหัวหน้าแก๊งค์ลาโลก เจ้าหน้าที่ก็ตามล่าหัวสมาชิกที่เหลือ จนจับได้อีก 27 คน ส่วนคนดังที่สุดคือไอ้หน้าอ่อนเนลสันนั้น โดนยิงตายตามไปด้วย และนั่นก็ถือเป็นจุดจบของยุคที่เรียกว่ายุคแก๊งสเตอร์ครองเมืองของดิลิงเจอร์และพรรคพวก ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เกิดจอมโจรมากมายหลายแก๊งค์ จนสื่อมวลชนเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุคแห่งศัตรูของสาธารณะ หรือยุค Public Enemies ในช่วงปี 1931-1935 และล่าสุด คำว่า Public Enemies นี้ก็ได้กลายมาเป็นชื่อเรื่องของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ที่หยิบยกเรื่องราวของดิลลินเจอร์มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเป็นภาพยนตร์

สำหรับอเมริกาแล้ว นี่คือบทเรียนครั้งสำคัญในการปราบปรามเหล่าขุนโจรและจัดการกับความวุ่นวายอันเกิดจากพิษภัยเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งหลังจากการแก้ปัญหาในยุคนี้ ก็นำไปสู่การพัฒนา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเอฟบีไอ จนกลายเป็นหน่วยงานเลื่องชื่อลือนามในปัจจุบัน

บอนนี และไคลด์ คู่แท้จอมโจร



บอนนี่ พาร์กเกอร์ และ ไคลด์ แบร์โรว์ (Bonnie Parker and Clyde Barrow) เป็นคู่สามีภรรยาโจรปล้นธนาคารที่โด่งดังที่สุดกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเดินทางไปในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เพื่อปล้นธนาคาร


ทั้งคู่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 จากการถูกล้อมปราบโดยเจ้าหน้าที่จากมลรัฐเท็กซัส และหลุยเซียนา


เรื่องราวของบอนนี่แอนด์ไคลด์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Bonnie and Clyde (1967) นำแสดงโดย วอร์เรน บีตตี้ และเฟย์ ดันนะเวย์ โดยถ่ายทำในสถานที่จริงในประวัติศาสตร์


เพร็ทตี บอย ฟลอยด์ Charles Arthur Floyd ฆาตกรหมู่ที่แคนซัส


อาชญากรและโจรปล้นธนาคาร นาม Charles Arthur Floyd เกิดในจอร์เจีย พ่อแม่มีลูกด้วยกัน 7 คน ครอบครัวของเขาย้ายไปโอกลาโฮมาที่ซึ่งพวกเขาทำประสบล้มล้มเหลวจากการทำฟาร์มและประสบกับความยากจนอย่างหนัก

เมื่ออาชีพแรกไม่ประสบความสำเร็จ Floyd จึงหันเหไปเป็นโจรแทนเพื่อหลีกหนียุคแห่งความยากลำบากของเกษตรกรขณะนั้น ("Dust Bowl")

Floyd แต่งงานกับ Ruby Hargrove เมื่อปี 1921 มีลูกชายด้วยกัน 1 คนคือ Jack Dempsey Floyd ซึ่งในขณะที่ลูกคลอดนั้น Floyd ยังต้องโทษจำคุก 3 ปีในข้อหาปล้นร้าน Kroger ใน เซนต์หลุยส์ และในตอนนั้นพวกเขาหย่ากันแล้ว


เมื่อพ้นโทษออกมาอยู่ที่บ้านของพ่อแม่ เขาได้พูดว่าจะฆ่าชายคนที่กล่าวหาเขา ทำให้เขาต้องติดคุก หลังจากนั้นถูกจับเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าพ่อตัวเอง หลังจากที่มีประกาศว่าเขาพ้าผิด เขาก็ไปเป็นมือปืนรับจ้างให้กับคนขายเหล้าเถื่อนผู้ขยายอิธิพลไปตลอดฝั่งแม่น้ำโอไฮโอ


หลังจากเป็นที่รู้จักกันในวงการโจรว่าเขาเป็นพวกชอบรัวปืนกลแบบไม่ยั้งคิด เขาก็ได้เข้าร่วมกับแก๊งหนึ่งไปปล้นธนาคารหลายที่ใน Ohio หลังจากนั้นไม่นานก็ย้ายไปมิชิแกนเคนทักกี และ โอกลาโฮมา ในขณะที่เขากำลังสนุกสนานกับวีรกรรมวีรเวรของตนเองอยู่นั้น มีรายงานว่าอัตราการจ่ายค่าประกันภัยของธนาคารในโอกลาโฮมาเพิมขึ้นเป็น 2 เท่า และเขาได้กลายเป็นขวัญใจประชาชนจากการเข้าไปทำลายเอกสารหลักฐานการจำนองในแต่ละธนาคารที่เข้าไปปล้นและปลดปล่อยหนี้ให้ประชาชนจำนวนมาก

เช้าตรู่วันที่ 17 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1933 ประวัติศาสตร์ต้องจารึกว่านี้เป็นอาชญากรรมของ FBI ก็เป็นบันทึกลงในแฟ้มอาชญากรรมของ FBI เมื่อเจ้าหน้าที่ 3 คน และสารวัตรสืบสวนตำรวจโอคลาโฮมา 1 นาย ถูกฆาตกรรมกลางแจ้งขณะควบคุมจอมอาชญากรที่ก่อคดีมากมายคนหนึ่งกลับสู่เรือนจำหลังจากหลบหนีมานานถึง 3 ปี


คดีนี้ช็อกคนทั่วแคนซัส ซิตีทั้งเมืองเพราะมันเกิดขึ้นกลางเมืองต่อหน้าสาธารณชนมากมาย ทำให้นำไปสู่การจับตายมือปืนที่เป็นต้นเหตุนาม ชาร์ลส์ อาร์เธอร์ ฟรอยด์ หรือฉายา เพร็ตตี บอย ฟลอยด์ในเวลาต่อมา


ภายหลังที่ John Dillinger ถูกจับกุมตัวได้ ชื่อของ Charles Arthur Floyd กลายมาเป็นศัตรูหมายเลข 1 ของรัฐบาลในทันทีและถูกตั้งค่าหัวถึง 23,000 ดอลลาร์ ไม่ว่าจับเป็นหรือตาย และในที่สุดในปี 1934 Floyd ก็ถูกวิสามัญโดยเ้จ้าหน้าที่ FBI นายหนึ่ง ในขณะกำลังหลบหนีหลังจากที่ไปปล้นธนาคารแห่งหนึ่งมาและถูกไล่ล่า


Floyd กลายเป็นตำนานและถูกกล่าวถึงในเพลงเพลงหนึ่งของ Woody Guthrie ชื่อเพลง "Pretty Boy Floyd."


คดีลักพาตัวหนูน้อย ลินด์เบริก (1976) The Lindbergh Kidnapping Case



หนูหน้อยวัยกำลังหัดเดิน ชาร์ล ออกุสตุส จูเนียร์ (Charles Augustus Lindbergh, Jr.)บุตรชายคนเดียวของนาย ชาร์ล ลินเบิร์ก Charles Lindbergh ผู้มีอาชีพนักบิน และนาง แอน มอร์โรว ลินเบิร์ก Anne Morrow Lindbergh ถูกลักพาตัวไปจากบ้านของพวกเขา ใน East Amwell, New Jersey ใกล้ เมือง Hopewell, New Jersey ในช่วงเย็นของวันที่ 1 มีนาคม 1932 จากนั้น 2 เดือนให้หลัง วันที่ 12 พฤษภาคม 1932 มีคนพบศพของพ่อหนูน้อยไม่ไกลนักจากบ้านของพวกเขาเอง


การทดสอบทางการแพทย์ระบุว่ากระโหลกศีรษะของเด็กน้อยถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงจนแตก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต


หลังจากการสืบสวนกว่า 2 ปี Bruno Richard Hauptmann ถูกจับกุมในข้อหาฆารกรรม ในช่วงของการสอบสวนนับตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 13 กุมภาพันธ์ 1935 เขาพบกับคำตัดสินสูงสุดของศาลนั่นคือการถูกประหารโดยการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ณ เรือนจำ New Jersey State วันที่ 3 เมษายน 1936 เวลา 20:44 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทว่า Hauptmann ได้ประกาศตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต


นักหนังสือพิมพ์นาม H.L. Mencken เรียกขานเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุน่าเศร้านี้ว่า "เรื่องใหญ่ที่สุดนับแต่การฟื้นคืนชีพ" ("the biggest story since the Resurrection.") เพราะคดีนี้เป็นคดีที่มีผลให้ทางสภาคอนเกรสได้ผ่านพระราชบัญญัติทั่วไปฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็กข้ามสหพันธรัฐ ที่เรียกว่า "กฏหมายลินเบิร์ก"


เรื่องของหนูน้อยลินเบิร์ก ผู้เีขียนพบรายละเอียดที่น่าสนใจค่อนข้างมากจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ไว้จะนำมาขยายความแยกต่างหาก ในบทความต่อไปค่ะ


ผู้เขียน

1 ความคิดเห็น: