2.19.2553

DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ



DSI : กรมสอบสวนคดีพิเศษ (Department Of Special Investigation)
สืบสวน สอบสวน อาชญากรรม ลิขสิทธิ์ ภาษี คุ้มครองผู้บริโภค

พันธกิจกรมสอบสวนคดีพิเศษ

1. สืบสวน สอบสวนป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
2. พัฒนาบุคลากร โครงสร้าง มาตรฐานและองค์ความรู้เพื่อเป็นผู้นำในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
3. เสริมสร้างบุคลากรให้มีมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการสืบสวนสอบสวนป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมคดีพิเศษ

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรง เป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโน
โลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครืองข่ายองค์กร โยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นโดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION” มีชื่อย่อว่า “DSI” ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ พัฒนารูป
แบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด

อำนาจหน้าที่

1. ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่งคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ และมาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่งคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร
4. พัฒนาบุคลากร โดยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความรู้ ความสามารถคุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ
5. ประสานส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปราบปรามและ ควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ

คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ

คดีพิเศษหรือคดีอาชญากรรมพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. 2547(แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
5. คดีคามผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้
ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา

ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (5)และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ.เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547(แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551)ี

บัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ

1. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
2. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า
3. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
4. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์
6. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
7. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
8. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
9. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
10. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า
11. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
12. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
13. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
14. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
15. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
16. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
17. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
18. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
19. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
20. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
21. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร
22. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
23. คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
24. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
25. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
26. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
27. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ

กฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

1. คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
2. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
4. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
5. คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ


อ้างอิง - กรมสอบสวนคดีพิเศษ http://www.dsi.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น